ข้อสังเกตลำดับเลขคณิต


4.ข้อสังเกตลำดับเลขคณิต



4.1ความสัมพันธ์ระหว่างพจน์ต่างๆของลำดับเลขคณิต
สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างลำดับเลขคณิตพจน์ที่ n กับพจน์อื่นๆดังนี้ 
an = a1  + (n-1)d  = a2  + (n-2)d = a3 + (n-3)d =… ax  + (n-x)d
  



4.2การหาจำนวนพจน์ของลำดับเลขคณิต

4.3การหาจำนวนพจน์ของลำดับเลขคณิตโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์


4.4การหาพจน์กลางของลำดับเลขคณิตที่มีอยู่ 3พจน์
กำหนดให้ x,A,y เป็นลำดับเลขคณิต

วิธีนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกรณีลำดับเลขคณิตที่มีจำนวนพจน์เป็นจำนวนคี่ โดยหาพจน์ทั้งหมดจากค่าพจน์กลาง เช่น
ลำดับ 7,a,b,c,43 เป็นลำดับเลขคณิตแล้ว       


ดังนั้น ลำดับนี้ คือ 7,16,25,34,43 โดยมีค่าผลต่างร่วมเป็น 9




4.5การหาพจน์ที่อยู่ระหว่าง 2พจน์ใดๆของลำดับเลขคณิต เมื่อทราบจำนวนพจน์
เมื่อทราบพจน์แรกพจน์สุดท้าย และทราบว่าระหว่างพจน์แรกและพจน์สุดท้ายมีจำนวนลำดับเท่าใด สามารถหาลำดับทั้งหมด โดยอาศัยหลักการดังนี้
1.หาผลต่างร่วม (d) ให้ได้ก่อน เช่น ถ้าพจน์แรกเป็นพจน์สุดท้ายเป็นของลำดับเลขคณิต โดยมีจำนวนพจน์ที่อยู่ระหว่างพจน์แรกและพจน์สุดท้ายจำนวน k พจน์
x , 1 , 2 , 3 , ... , k , y
ดังนั้น จำนวนพจน์ทั้งหมดจะเป็น k+2 พจน์
หรือกล่าวได้ว่า ช่วงว่างระหว่างพจน์ต่างจะมี k+1ช่วง ดังนั้น จึงหาระยะช่วงว่างได้จาก ผลต่างของพจน์แรกกับพจน์สุดท้ายหารด้วยจำนวนช่วงว่าง
2.เมื่อทราบ d แล้ว สามารถนำไปหาพจน์ทุกพจน์ของลำดับเลขคณิตได้ โดย 
x , x+d , x+2d , x+3d , ... , y





4.6การสร้างพจน์ของลำดับเลขคณิตแบบสมมาตร
ในกรณีที่เราต้องสมมติลำดับเลขคณิตขึ้นมา 1 ชุด เพื่อใช้ในการคำนวณต่างๆ การสมมติต้องอาศัยหลักการสมมาตร เพื่อให้การแทนค่าที่เกิดขึ้นมีการหักล้างของตัวแปรบางตัวหมดไปได้ โดยมีหลักการสมมติตัวแปรดังนี้ 
1.ถ้าลำดับที่กำหนดมีจำนวนพจน์เป็นจำนวนคี่ ให้สมมติลำดับเลขคณิตที่มีพจน์กลางเป็น a
... , a-3d , a-2d , a-d , a , a+d , a+2d , a+ 3d ,...
เมื่อ a เป็นค่าคงตัวที่เป็นพจน์กลาง ซึ่งไม่ใช่พจน์ที่และ d เป็นผลต่างร่วม
2.ถ้าโจทย์กำหนดให้จำนวนพจน์เป็นจำนวนคู่ ให้สมมติลำดับเลขคณิตคู่พจน์กลางเป็น a-d และ a+d
... , a-5d , a-3d , a-d , a+d , a+3d , a+ 5d ,...
เมื่อ a เป็นค่าคงตัวที่ไม่ใช่พจน์ที่ 1 และ 2d เป็นผลต่างร่วม





4.7การใช้ลำดับเลขคณิตหาสูตรเงินรวมที่คิดดอกเบี้ยคงต้น
ลงทุน P บาท อัตราดอกเบี้ย i ต่องวด นาน n งวด
งวดที่ 1 เงินต้น P บาท ดอกเบี้ยสะสม Pi บาท เงินรวม P+Pi บาท
งวดที่ 2 เงินต้น P บาท ดอกเบี้ยสะสม 2Pi บาท เงินรวม P+2Pi บาท
งวดที่ 3 เงินต้น P บาท ดอกเบี้ยสะสม 3Pi บาท เงินรวม P+3Pi บาท
.
.
.
งวดที่ n เงินต้น P บาท ดอกเบี้ยสะสม Pi บาท เงินรวม P+nPi บาท
ลำดับของเงินรวม คือ P+Pi,P+2Pi,P+3Pi,...,P+nPi เป็นลำดับเลขคณิต
ถ้า S เป็นเงินรวมที่ได้จากการคิดดอกเบี้ยแบบคงต้นในอัตรา i ต่องวด นาน n งวด คือ พจน์ที่ n ของลำดับเลขคณิต จะได้ 
S      =       P+nPi
          =      P(1+ni)





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การหาพจน์ทั่วไปของลำดับ

ลำดับฮาร์มอนิก(Harmonic Sequence)